| เครื่องอัดภาพ :  Enlarger |   

 

 เครื่องอัดภาพ ใช้หลักการ ฉายแสงผ่านแผ่นฟิล์มเนกกาทีฟเพื่อให้ภาพที่ต้องการอัดขยาย ให้ไปปรากฏลงบนแผ่นกระดาษไวแสง
ใช้ประกอบกับtimer (นาฬิกาตั้งเวลา) เป็นเครื่องทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าของเครื่องอัดภาพที่ฉายแสงลงไปบนกระดาษ ตามเวลาที่กำหนด
 

การเลือกซื้อเครื่องอัดภาพขาวดำ

เครื่องภาพรุ่นเก่าๆ ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดคอนเดนเซอร์   ระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรนัก
ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 20-50ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ จึงจะต้องมีการปรับปรุง

ทำความสะอาด 
หรือดัดแปลงบ้าง อาจจะเป็นความสุขเล็กๆน้อยๆทางใจ  สำหรับคนบางคนที่ได้ขัดถู
ซ่อมแซมให้ ให้มันสวยแจ่ม  ฟื้นชีพขึ้นมา  ใช้งานได้อีก ถึงบางทียังไม่ได้ใช้งาน แค่ได้มองชื่นชม
ได้จับสัมผัสบ้างก็ยังดี
 

 
ส่วนประกอบ หลัก ๆ  -ระบบไฟฟ้า
                            -เลนส์เกลี่ยแสง เลนส์หัวอัด
                            - โครงสร้างเครื่อง และ ระบบกลไก

ระบบไฟฟ้า สายไฟ สวิทช์ ทั่วๆไป  หลอดไฟฟ้าแบบไส้ขาวขุ่นหลอดเกลียว 220 V   100w   
                  แต่เวลาใช้งานผมเลือกใช้หลอดกำลังวัตต์ต่ำกว่านี้   เพราะหลอด100wเครื่องจะร้อนมาก

เลนส์ เลนส์เกลี่ยแสง อยู่ในเครื่อง ระหว่าง หลอดไฟกับฟิล์ม  ตัวนี้สำคัญมากเพราะ เป็นเลนส์เฉพาะ  หาอะไหล่ยาก
        เลนส์อัดภาพอยู่ด้านนอก ถอดเปลี่ยนได้เป็นเมาท์เกลียว  หาซื้อไม่ง่ายนัก แต่ยังพอหาซื้อได้ อาจจะต้องใจเย็นๆ ค่อยๆหา
        มีหลายเกรด หลายสภาพ เวลาซื้อเลือกค่า f ตรงกับเครื่องและฟิล์มที่ใช้   สำหรับฟิล์ม135 ใช้ f=50
        เคยทดลองใช้เลนส์ติดกล้องฟิล์มแมลนวลเลนส์50มม.โดยจ้างโรงกลึง ทำอะแดปเตอร์เมาท์ขึ้นมาระหว่าง
        เกลียวเครื่องอัดกับเมาท์เลนส์ ก็ใช้งานได้ดี แก้ขัดไปได้เหมือนกัน

โครงสร้างเครื่องอัด    ฐานแผ่นไม้รองถ้าเก่ามากหรือ ชำรุดก็ถอดเปลี่ยนได้ โดยเลือกซื้อไม้มาเจาะรูให้ตรง
                               กับน็อตยึดระหว่างฐานกับ แกนข้อต่อของเครื่อง  ตรวจสอบปรับระดับสูงต่ำของเครื่องหัวอัด 
                                ส่วนใหญ่ไม่ค่อยซับซ้อนอะไร  นอกจากบางรุ่นใช้เฟืองหรือสปริง
                                ปรับโฟกัสของเลนส์บางรุ่นเป็นผ้ายางกระโปรงที่ยึดหด ไม่ขาด เพราะจะทำให้แสงรั่วออกมา       
          

 

 





 

Durst
659

film 135
,120 ,6x9cm
year 1966-1969
made in itary





 

  เครื่องอัด durst 659   ผลิตจากประเทศอิตตาลี่
  ชนิด คอนเดนเซอร์  เป็นรุ่นเก่า  วัสดุดีแข็งแรง ทนทาน
  ตัวเครื่องหนัก  ขนาดใหญ่ ทนบึกบึน ใช้งานดี
  ออกแบบติดสองเลนส์ได้2ตัว โดนเลื่อนสลับกันใช้งาน
  ระหว่างฟิล์ม 135 และ 120 ออกแบบการปรับส่วนต่างๆได้ดี
เ  หมาะและสะดวกในการทำงาน อัดขยายภาพ
 
 

 

 


 
   





 

.........

film 135
year
made in ...
  เครื่องอัดภาพ ชนิดคอนเดนเซอร์  ใช้อัดฟิล์ม 135
  อ่านยี่ห้อไม่ออก น่าจะผลิตทางยุโรป 
  เครื่องเก่ายุคแรกๆ รูปทรงเรียบง่าย น้ำหนักเบา
  เล็กกระทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก กลไกไม่ซับซ้อน
  แต่เวลาปรับเลื่อนขึ้นลงขยายลดขนาดภาพจะช้า
  ไม่คล่องเท่ารุ่นหลังๆ
 

 
   





 

Durst
609

film 120,135,6x9cm
year  1950 - 1975
made in itary

 
  เครื่องอัด durst 609 เครื่องนี้เหมาะสำหรับหรับ
  ฟิล์ม 120 หรือ ขนาด 6x9 cm  

  อัดฟิล์ม135ได้แต่ไม่สะดวกสำหรับขยายใหญ่มาก

  เครื่องรุ่นนี้ออกแบบให้ ปรับหัวอัด 90 องศาได้
  ฉายาภาพ เข้าผนังกำแพงเป็นโปเจกเตอร์ได้
 

 

   
 



 

omega
type DII
film 135,120 ,4x5''
year  ..
made in USA

 
  ตัวเครื่องใหญ่และหนัก เป็นเครื่องยุคเก่า
  ที่ผลิตโดยอเมริกา ใช้กับฟิล์มใหญ่ได้ ถึง ฟิล์ม4x5 นิ้ว
 
 

 
   





 

omega
c760
film 135 - 6x7cm
year ...
made in  USA


 
  เป็นเครื่องอัดภาพยุคหลังๆ ของomega  รุ่นนี้ อัดได้ทั้งภาพสี 
  และขาวดำ มีตัวปรับค่าแสงแม่สี
เ  ป็นชนิด Diffused Light ไม่มีเลนส์เกลี่ยแสง
  จะใช้วัสดุสีขาวคล้ายโฟมเกลี่ยแสงจากหลอด halogen
  (เป็นหลอดเฉพาะหลอดหายากและแพงกว่าหลอดไส้ )
  ทำให้ส่วนหัวอัดมีน้ำหนักเบา และขนาดเล็กลง
  มีวงจรอิเล็คทรอนิคส์อยู่ข้างใน   สำหรับปรับค่าแสง
 

 
   



 

krokus
69
film  135, 120
year1977
made in Poland
  เครื่องอัดภาพผลิต ประเทศโปแลนด์ 
  มีสายการผลิตที่ยาวนานตั้งแต่ 1920
  เครื่องนี้เป็นยุคหลังๆ รูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่  

 
   



 

krokus
color 35 sl
film  135
year1991
made in Poland
   รุ่นนี้ เป็นรุ่นเล็ก ยุคหลังๆ ของkrokus 
   เครื่องเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา

 
   



 

 fujimoto 
lucky
60M
film  135
,120 , 6x6
year
19xx
made in japan
   เป็นเครื่องรุ่นเล็กน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
   ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น  
 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

webmaster@classic.in.th
WWW.CLASSIC.IN.TH